แก้ปัญหาเพาเวอร์แฟคเตอร์/ฮาร์มอนิก ที่แรงดันต่ำหรือแรงดันสูงแบบไหนดีกว่ากัน?

บทความโดย บริษัท เพาเวอร์ ควอลิตี้ ทีม จำกัด

เมื่อท่านตัดสินใจที่จะแก้ปัญหาเพาเวอร์แฟคเตอร์ ปัญหาฮาร์มอนิก หรือทั้งสองอย่างพร้อมกัน กรณีที่ท่านซื้อไฟฟ้าที่แรงดันต่ำ (400V) การแก้ไขปัญหาก็ต้องทำที่ระดับแรงดันต่ำอย่างแน่นอน แต่ถ้าท่านซื้อไฟฟ้าที่ระดับแรงดันสูง 12, 22, 24, 33, 69 หรือ 115kV ก็จะมีคำถามว่าเราควรจะแก้ไขปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์หรือปัญหาฮาร์มอนิกระบบไฟฟ้าของเราที่แรงดันต่ำหรือที่แรงดันสูงดีกว่ากัน

คำตอบจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และเงื่อนไขหลายด้าน แต่ในอุดมคตินั้นการแก้ปัญหาที่ให้ผลดีที่สุดนั้นจะต้องทำที่แรงดันต่ำและต้องติดตั้งอุปกรณ์แก้ไขปัญหาให้ใกล้กับแหล่งกำเนิดหรือโหลดที่มีค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ต่ำหรือแหล่งกำเนิดของกระแสฮาร์มอนิกที่สุด เหตุผลคือการที่เราทำให้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ของโหลดที่ใช้งานมีค่าใกล้เคียง 1 และมีการสร้างกระแสฮาร์มอนิกจากโหลดเข้าสู่ระบบไฟฟ้าต่ำนั้น จะเป็นผลให้กำลังงานสูญเสียและปริมาณกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในสายไฟฟ้าและหม้อแปลงมีค่าต่ำที่สุด ทั้งในด้านแรงดันต่ำและแรงดันสูงเป็นผลให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวของท่านได้มากที่สุด

ในอดีตที่ผ่านมานั้นเทคโนโลยีอุปกรณ์การแก้ปัญหาเพาเวอร์แฟคเตอร์ที่มีคุณสมบัติในการแก้ปัญหาฮาร์อนิกและมีความเร็วในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นยังไม่มีการพัฒนาและการแข่งขันเท่าที่ควร เป็นผลให้การลงทุนเพื่อแก้ไขปัญหาที่ระดับแรงดันต่ำนั้นยังไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากจะมีการลงทุนที่สูงมากกว่าเมื่อเทียบกับการแก้ปัญหาที่แรงดันสูง นอกจากนั้นผู้ให้บริการด้านนี้ยังไม่มีการคำนวนและประเมินค่ากำลังงานสูญเสียที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้าให้ผู้ตัดสินใจลงทุนรับทราบถึงผลตอบแทนในระยะยาว โดยลูกค้าหรือโรงงานที่ต้องการแก้ปัญหาก็จะตั้งเป้าเพียงแค่ทำให้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ของระบบไฟฟ้ามีค่าสูงกว่า 0.85 ก็เพียงพอต่อความต้องการโดยไม่ได้พิจารณาถึงผลตอบแทนในระยะยาวที่ได้จากการลดกำลังงานสูญเสียและผลที่ได้จากคุณภาพกำลังไฟฟ้าภายในโรงงานที่ดีขึ้น ดังนั้นการจัดการแก้ปัญหาที่ระดับแรงดันสูงจึงเป็นที่นิยมมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา อันเป็นผลให้ค่าใช้จ่ายทางอ้อมไม่ว่าจะเป็น ค่าความเสียหายจากเครื่องจักรพังหรือทำงานผิดพลาด ความเสี่ยงต่อการหยุดทำงานของเครื่องจักรหรือแม้กระทั่งความเสี่ยงจากความร้อนสะสมในอุปกรณ์ระบบไฟฟ้ายังคงอยู่

ผู้เขียนขอเปรียบเทียบให้เห็นภาพและเข้าใจชัดเจนว่า การแก้ปัญหาที่ระดับแรงดันสูงนั้นเปรียบเหมือนการขังปัญหาไว้ภายในโรงงานหรือระบบไฟฟ้าของท่าน หรือกล่าวได้ว่าการซุกปัญหาไว้ใต้พรม สิ่งที่ได้คือมิเตอร์ซื้อขายไฟจะรายงานค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์หรือฮาร์มอนิกที่จุดซื้อขายไฟฟ้าดีขึ้นแต่คุณภาพไฟฟ้าภายในโรงงานก็ยังคงเหมือนเดิม ส่วนการแก้ไขปัญหาที่ด้านแรงต่ำนั้นเปรียบได้กับการกำจัดสาเหตุของค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ต่ำและแหล่งกำเนิดของฮาร์มอนิกที่จะกระจายเข้าสู่ระบบไฟฟ้า อันเป็นผลให้คุณภาพและสเถียรภาพของระบบไฟฟ้าในโรงงานดีขึ้นและยังเป็นผลให้เกิดการลดค่าไฟฟ้าที่เกิดจากกำลังงานสูญเสียในระบบได้สูงสุด และในขณะเดียวกันตัวค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์และปัญหาฮาร์มอนิกที่ด้านแรงสูงก็จะดีขึ้นด้วย

ปัจจุบันเทคโนโลยีการแก้ปัญหาเพาเวอร์แฟคเตอร์และปัญหาฮาร์มอนิกได้ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วและในขณะเดียวกันก็มีราคาถูกลงมามากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน จนการแก้ปัญหาที่แรงดันต่ำสามารถคืนทุนจากค่าปรับเพาเวอร์แฟคเตอร์และกำลังงานสูญเสียที่ลดลงได้ในระยะเวลาใกล้เคียงกับการแก้ปัญหาที่แรงดันสูง ซึ่งทางบริษัท เพาเวอร์ ควอลิตี้ ทีม จำกัด ก็มีสินค้าทั้งระบบแรงดันต่ำและแรงดันสูงไว้บริการท่าน พร้อมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษา วิเคราะห์และออกแบบการแก้ปัญหาได้อย่างตรงความต้องการและงบประมาณของท่าน ติดต่อเรามาสิครับ


บทความโดย บริษัท เพาเวอร์ ควอลิตี้ ทีม จำกัด

สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท ฯ