ค่าปรับเพาเวอร์แฟกเตอร์ในใบเรียกเก็บค่าไฟฟ้า
ภายหลังจากการติดตั้งและใช้งานโซลาเซลล์
ค่าปรับเพาเวอร์แฟกเตอร์ในใบเรียกเก็บค่าไฟฟ้า
ภายหลังจากการติดตั้งและใช้งานโซลาเซลล์
บทความโดย บริษัท เพาเวอร์ ควอลิตี้ ทีม จำกัด
ปัญหาค่าปรับเพาเวอร์แฟกเตอร์ในใบเรียกเก็บค่าไฟฟ้าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่บางโรงงานพบหลังจากที่มีการติดตั้งและใช้งานโซลาเซลล์ ซึ่งบางแห่งอาจจะเพิ่งมีค่าปรับหลังจากที่ติดตั้งโซลาเซลล์ หรือบางแห่งนั้นพบว่าค่าปรับเพาเวอร์แฟกเตอร์มีค่าสูงขึ้นเพิ่มจากเดิม หลังจากที่มีการติดตั้งและใช้งานโซลาเซลล์
เกณฑ์การคิดค่าปรับของการไฟฟ้านั้นสามารถอธิบายได้ง่ายๆ โดยที่การไฟฟ้าจะคิดค่าปรับสำหรับโรงงานที่มีความต้องการกำลังงานรีแอกทีฟ (var) มากกว่า 61.97% ของค่าพลังไฟฟ้าที่สูงที่สุด (W) คูณด้วยอัตราค่าปรับล่าสุด 56.07 บาท(หรือก็คือ ค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ต่ำกว่า 0.85) ก็จะเป็นค่าปรับ PF ที่เกิดขึ้น
ตัวอย่างการคิดค่าปรับเพาเวอร์แฟกเตอร์
ค่าปรับเพาเวอร์แฟกเตอร์ = (กิโลวาร์ – (กิโลวัตต์ * 0.6197)) * 56.07
สมมติว่าให้
- โรงงาน A มีค่าพลังไฟฟ้าที่สูงที่สุดต่อเดือน ก่อนติดตั้งโซลาเซลล์ = 2,500 kW
- โรงงาน A มีต้องการกำลังงานรีแอกทีฟสุดต่อเดือน ก่อนติดตั้งโซลาเซลล์ = 1,500 kvar
- โรงงาน A มีค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ก่อนติดตั้งโซลาเซลล์ = 0.857
ค่าปรับเพาเวอร์แฟกเตอร์ = (กิโลวาร์ – (กิโลวัตต์ * 0.6197)) * 56.07
ค่าปรับเพาเวอร์แฟกเตอร์ = (1,500 – (2,500 * 0.6197)) * 56.07 = -2761.44 = 0 บาท หรือไม่มีค่าปรับ
ติดตั้งโซลาเซลล์เพื่อลดค่าไฟฟ้า พิกัด 1,000 kW (ส่วนอื่น ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง)
- โรงงาน A มีค่าพลังไฟฟ้าที่สูงที่สุดต่อเดือน หลังติดตั้งโซลาเซลล์ = 1,500 kW
- โรงงาน A มีต้องการกำลังงานรีแอกทีฟสุดต่อเดือน หลังติดตั้งโซลาเซลล์ = 1,500 kvar
- โรงงาน A มีค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ก่อนติดตั้งโซลาเซลล์ = 0.707
ค่าปรับเพาเวอร์แฟกเตอร์ = (กิโลวาร์ – (กิโลวัตต์ * 0.6197)) * 56.07
ค่าปรับเพาเวอร์แฟกเตอร์ = (1,500 – (1,500 * 0.6197)) * 56.07 = 31,985.13 บาท
เนื่องจากหน้าที่หลักของโซลาเซลล์คือการผลิตเฉพาะกำลังไฟฟ้าจริง (Active power) จ่ายให้กับระบบเท่านั้น ทำให้ค่ากำลังงานจริงที่หม้อแปลงของโรงงานที่ติดตั้งโซลาเซลล์จะต้องดึงจากแหล่งจ่ายหรือการไฟฟ้ามีค่าลดลง ขณะที่ค่ากำลังงานรีแอกทีฟ (Reactive power) ที่โหลดต้องการนั้นยังคงต้องมีการดึงมาจากแหล่งจ่ายหรือการไฟฟ้า จึงส่งผลให้ค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ในระบบมีค่าลดลง และต่ำกว่าเกณฑ์ที่การไฟฟ้ากำหนดจนถูกเรียกเก็บค่าปรับเพาเวอร์แฟกเตอร์ในใบเรียกเก็บค่าไฟฟ้า
สมการแสดงความความสัมพันธ์ของค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์กับกำลังไฟฟ้าจริงและกำลังงานรีแอกทีฟ
บทความโดย บริษัท เพาเวอร์ ควอลิตี้ ทีม จำกัด
สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท ฯ