บทความโดย บริษัท เพาเวอร์ ควอลิตี้ ทีม จำกัด
ในกรณีที่ระบบไฟฟ้ามีปริมาณกระแสฮาร์มอนิกและแรงดันฮาร์มอนิกสูงมากจนไม่สามารถติดตั้งใช้งาน Capacitor Bank เพื่อปรับแก้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) ได้เนื่องจากเกิดความร้อนสูงที่ Capacitor Bank จนเกิดความเสียหาย หรือเกิดการเรโซแนนซ์จนอุปกรณ์ป้องกันทำงานตัด Capacitor Bank ออกจากระบบนั้น เราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร
รูปที่ 1 การติดตั้ง Reactor อนุกรมกับคาปาซิเตอร์เพื่อให้เป็น DeTuned filter
รูปที่ 2 แสดงวงจร วงจรสมมูลย์ และการตอบสนองเชิงความถี่หลังจากติดตั้ง Reactor อนุกรมกับคาปาซิเตอร์แก้ตัวประกอบกำลัง (Capacitor Bank)
โดยทั่วไปกรณีที่ต้องการปรับค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) ของระบบที่มีปัญหาฮาร์มอนิกสูงสามารถทำได้โดยการติดตั้งตัวเหนี่ยวนำหรือ รีแอคเตอร์ (Reactor) ดังแสดงในรูปที่ 1 และ 2 อนุกรมกับคาปาซิเตอร์ที่ทำหน้าที่แก้เพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) ประโยชน์ที่ได้จากการกระทำนี้มี 2 ประการคือ
ทำให้ความถี่เรโซแนนซ์ทั้งแบบขนานและอนุกรมของระบบต่ำกว่าความถี่ของฮาร์มอนิกที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปจะต้องต่ำกว่าฮาร์มอนิกอันดับที่ 5 (โดยการติดตั้ง 6-7% Reactor) เนื่องจากฮาร์มอนิกที่เกิดจากโหลด 3 เฟสสมดุลจะเริ่มจากฮาร์มอนิกที่ 5 แต่ถ้ากระแสฮาร์มอนิกที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากและมีอุปกรณ์ Non-linear load ชนิด 1 เฟสเป็นจำนวนมากอาจจำเป็นต้องเลื่อนความถี่เรโซแนนซ์ของระบบลงมาให้ต่ำกว่าฮาร์มอนิกอันดับที่ 3 ก็อาจทำได้โดยการติดตั้ง 12-14% Reactor
ทำให้ทรานเชียนท์ของแรงดันและกระแสของระบบลดลงเมื่อมีการสวิตช์ต่อ Capacitor Bank (Detuned filter) ลดลง อย่างไรก็ตามถ้าต้องการให้ทรานเชียนท์ดังกล่าวหมดไปจำเป็นต้องมีการใช้อุปกรณ์ไทริสเตอร์ทำหน้าที่ตัดต่อวงจรที่แรงดันศูนย์ (Zero Voltage Switching)
รูปที่ 3 ทรานเชียนท์ที่เกิดขึ้นขณะต่อ Capacitor Bank เข้าระบบ
บทความโดย บริษัท เพาเวอร์ ควอลิตี้ ทีม จำกัด
สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท ฯ