บทความโดย บริษัท เพาเวอร์ ควอลิตี้ ทีม จำกัด
ในระบบไฟฟ้าที่มีค่ากระแสและแรงดันฮาร์มอนิกสูงมากนั้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งใช้งานในระบบนั้นมีโอกาสที่การทำงานหรือประมวลผลจะถูกรบกวนหรือก่อให้เกิดความเสียหายอย่างถาวรจากปัญหาฮาร์มอนิกได้ ท่านเคยสังเกตหรือพบสิ่งผิดปกติเหล่านี้ในโรงงานหรือระบบไฟฟ้าที่ท่านรับผิดชอบอยู่หรือไม่
เมื่อเดินเครื่องจักรบางเครื่องแล้ว UPS ร้องหรือสำรองไฟฟ้าโดยที่ไฟฟ้าไม่ดับ
จอภาพมอนิเตอร์หรือเครื่องรับโทรทัศน์มีอาการสั่น ภาพไหลเลื่อน มีเส้นขวางหน้าจอเป็นพักๆ
โทรศัพท์ใช้สายบางตำแหน่งมีเสียงฮัมเป็นพักๆ ตอนที่เครื่องจักรส่วนใหญ่ทำงาน
มอเตอร์และเครื่องจักรร้อนผิดปกติ
สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายของคอมพิวเตอร์เสียบ่อย
Alarm LED แสดงผลของเครื่องจักรเตือนบ่อยๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้
อาการผิดปกติอื่นๆ
หากท่านเคยประสบเหตุการณ์ที่ว่านี้ มีความเป็นไปได้สูงที่ระบบไฟฟ้าของท่านมีปัญหาฮาร์มอนิกในระดับรุนแรงจนอาจก่อให้เกิดการทำงานผิดปกติและความเสียหายกับเครื่องจักร หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบคอมพิวเตอร์ของท่านได้ กล่าวคือเมื่อระบบไฟฟ้ามีค่า THDV สูงนั่นหมายความว่าในแรงดันที่จ่ายให้แก่โหลดในระบบก็จะมีส่วนประกอบของความถี่สูงอยู่มาก ซึ่งส่วนประกอบของแรงดันความถี่สูงนี้จะสามารถเข้าไปสู่วงจรอิเล็กทรอนิกส์ทางสนามไฟฟ้าหรือ Capacitive coupling หรือในกรณีของระบบที่มีกระแสฮาร์มอนิกในปริมาณมาก กระแสฮาร์มอนิกความถี่สูงนี้ก็จะถูกเหนี่ยวนำเข้าสู่วงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้ทางสนามแม่เหล็กหรือ Inductive coupling ซึ่งเมื่อทั้งสองนี้เข้าไปสู่วงจรอิเล็กทรอนิกส์แล้วก็จะทำให้เกิดแรงดันและกระแสผิดแปลกในวงจรอันเนื่องมาจากฮาร์มอนิกซึ่งถ้าเป็นวงจรอนาล็อกการรบกวนเหล่านี้ก็จะทำให้เกิดการขยายสัญญาณที่ผิดพลาดหรือในกรณีของวงจรดิจิตอลก็มีโอกาสที่วงจรภายในจะตัดสินใจระดับลอจิกของการทำงานผิดพลาดเนื่องจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าอันเนื่องมาจากปัญหาฮาร์มอนิกที่เข้าไปรบกวนได้
รูปตัวอย่างอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาฮาร์มอนิก
รูปคลื่นแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่มีปัญหาฮาร์มอนิกในระดับที่ส่งผลให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดได้
รูปตัวอย่างเครื่องจักร (Induction heating) ที่สร้างปัญหาฮาร์มอนิกในระดับรุนแรง
บทความโดย บริษัท เพาเวอร์ ควอลิตี้ ทีม จำกัด
สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท ฯ